วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 คุณลักษณะเบื้องต้นของ Visual Basic(จบ)

1.3 Project และ Form

Project โดยทั่วไประบบงานหนึ่งๆ มักจะประกอบไปด้วยหลายๆ จอภาพ เช่น จอภาพสําหรับป้อนข้อมูล
(Data Entry) จอภาพสําหรับค้นหาข้อมูล (Data Inquiry) เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาโปรแกรม จึงนิยมที่จะแยกแต่ละจอภาพออกเป็นโปรแกรม เพื่อความสะดวกต่อการแก้ไขตามหลักของการเขียนโปรแกรมแบบ Modularity เช่น ภาษาตระกูล Xbase(เช่น dBase FoxBASE FoxPro FoxPlus) ที่แยกออกเป็น File นามสกุล PRG หรือ ภาษา Basic ที่แยกออกเป็นไฟล์นามสกุล BAS เป็นต้น แล้วจึงนําแต่ละโปรแกรมย่อยมาประกอบกันขึ้นเป็นระบบ โดยการ Compile ไฟล์เหล่านั้นร่วมกันเป็น Executed Program (ไฟล์นามสกุล EXE) เพื่อนําไปใช้งาน ใน Visual Basic ก็เช่นเดียวกัน แต่ละจอภาพที่พัฒนาขึ้นจะได้แก่ Form ต่างๆ และเมื่อนํามารวมกันก็จะกลายเป็นระบบงานระบบหนึ่ง หรือที่เรียกว่า Project ดังนั้น Project และ Form จึงต้องทํางานร่วมกัน จะขาดไฟล์ใดไฟล์หนึ่งไม่ได้


1.4 การพัฒนาระบบงานด้วย Visual Basic ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักดังนี้

ส่วนแรก สร้างอินเตอร์เฟสของโปรแกรม ในขั้นตอนนี้จะนํา Form มาออกแบบเพื่อใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้ หรือที่เรียกว่าการออกแบบ “User Interface” ในการพัฒนาโปรแกรมแบบ Sequential ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากจะต้องเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างจอภาพต่างๆ จากนั้นต้อง Compile โปรแกรมนั้น แล้ว Run จึงจะเห็นจอภาพที่จัดทําขึ้น แต่สําหรับ Visual Basic ปญหาในลักษณะนี้ได้ถูกแก้ไขโดยใช้เทคนิคของ Visualize ซึ่งเป็นความสามารถส่วนหนึ่งของ Visual Basic ขั้นตอนนี้ จึงสามารถทําได้โดยง่าย เพียงแต่นําเอา Control ต่างๆ ใน Toolbox ที่ต้องการใช้งานมาวาดไว้บน Form ซึ่งทําให้ประหยัดเวลาและสามารถเห็นลักษณะจอภาพที่ออกแบบได้ในขณะนั้นเลย

ส่วนที่ 2 เขียนคอนโทรเพื่อควบคุมโปรแกรมเมื่อวาง Control ต่างๆ ลงบน Form เป็นที่เรียบร้อย (Control ต่างๆ เมื่อถูกนํามาวาดไว้บน Form จะเรียกว่า “Object”) ขั้นตอนต่อมา ได้แก่ การเขียนโปรแกรมเพื่อกําหนดการทํางานให้กับแต่ละ Object ภายใต้เหตุการณ์ต่างๆ (Event) ที่เกิดขึ้นกับจอภาพนั้นๆ


1.5 การเขียนโปรแกรมในลักษณะของ Event-Driven Program

แนวคิดในการเขียนโปรแกรมแบบ Event-Driven จะเปลี่ยนมาสนใจกับเหตุการณ์ (Event) ที่จะเกิดขึ้นใน
โปรแกรมมากกว่าการกําหนดขั้นตอนการทํางานของโปรแกรมในแบบเดิม เช่นถ้ามีการ “เลื่อนเมาส์“ เกิดขึ้น จะให้โปรแกรมทําอย่างไร หรือมีการกดปุ่มที่ 1 ขึ้น จะให้โปรแกรมทําอย่างไร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องกําหนดอย่างเป็นขั้นตอนอยู่ดี การเขียนโปรแกรมแบบ Event-Driven ใน Visual Basic จะเป็นการเขียนโปรแกรมให้กับ Object ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บน Form โดยจะพิจารณาว่า แต่ละ Object จะมี Event อะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วจึงเลือกเขียนโปรแกรมเฉพาะ Event นั้น

1.6 การใช้ Editor สําหรับเขียน Code

เครื่องมือที่จําเป็นสําหรับการพัฒนาโปรแกรมของทุกๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ “Editor” ในการเรียก Editor ของ Visual Basic ขึ้นมาทํางาน ทําได้โดยดับเบิ้ลคลิกที่ Object ที่ต้องการเขียนโปรแกรม แต่สําหรับ Form จะต้องดับเบิ้ลคลิกตรงตําแหน่งที่ไม่มี Object ใดวางอยู่ (ในขณะที่ยังไม่ได้ Run โปรแกรม) ดังรูปที่ 1.9





ส่วนที่ 1 ส่วนแสดงรายชื่อ Object
- ใช้แสดงชื่อของ Object ที่เราได้วาดไว้บน Form
- ส่วนของ General ที่ใช้ในการนิยาม (Declare) ตัวแปร และ User-Defined Procedure หรือ User-
Defined Function
ส่วนที่ 2 ส่วนแสดงรายชื่อเหตุการณ์(Event)
- เป็นส่วนของ Event ภายใต้ object นั้น ซึ่งแต่ละ Object จะมี Event ที่แตกต่างกันไป
ส่วนที่ 3 ส่วนสําหรับเขียนโปรแกรม
เมื่อเข้าสู่จอภาพ Editor ทุกครั้ง ในส่วนที่ 3 จะปรากฏตัวโปรแกรมของ Procedure ของ Object ที่เรา
ดับเบิ้ลคลิก เพื่อเรียกจอภาพ Editor แต่ถ้ายังไม่ได้เขียนโปรแกรมใดๆ ไว้ ก็จะปรากฏ Procedure ว่างแทน ในการเรียก Procedure ที่ต้องการขึ้นมา ทําได้หลังการเลือก Object จากส่วนแสดงรายชื่อ Object และ เลือก Event ที่ต้องการในส่วนแสดงรายชื่อ Event (Event ที่ปรากฏขึ้นในส่วนนี้ จะเป็น Event ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของ Object ที่เลือก ไว้ในข้อ 1) Procedure ที่ต้องการ ก็จะปรากฏในส่วนสําหรับเขียนโปรแกรม Editor ของ Visual Basic จะมีส่วนที่เรียกว่า “Automatic Syntax Checking” ซึ่งทําหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของ Syntax ในแต่ละคําสั่ง โดยจะเริ่มตรวจสอบทันทีเมื่อมีการกด Enter ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะมีข้อความมาเตือนให้ผู้ใช้ทราบได้ทันที ทําให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขคําสั่งได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ Visual Basic ยังมีความสามารถพิเศษในการแยกคําเฉพาะ (Reserved Word) ออกจากตัวแปรต่างๆ โดยจะเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคําสั่ง ให้เป็นตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ไม่ว่าตัวอักษรที่ป้อนเข้าไปจะเป็นตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ตาม เช่นคําสั่ง End ไม่ว่าจะพิมพ์เป็น end, End หรือ ENDก็ตามเมื่อพิมพ์เสร็จ Visual Basic จะเปลี่ยนเป็น End

นอกจากนั้น Visual Basic ยังได้ใช้สีเพื่อแยกความแตกต่างของคําสั่ง ตัวแปร และ Comment ออกจากกันโดยจะเปลี่ยนสีของคําสั่งให้เป็นสีน้ําเงิน ตัวแปรเป็นสีดํา และ Comment เป็นสีเขียว (การเขียน Comment ใน Visual Basic จะเขียนตามหลังเครื่องหมาย ‘ ) ให้โดยอัตโนมัติเมื่อพิมพ์เสร็จ ในการเรียกใช้ Editor ของ Object ขึ้นมาทํางานนั้น Visual basic จะเตรียม Procedure เอาไว้ให้เสมอ โดยจะอยู่ในรูปแบบที่ขึ้นต้นด้วยประโยคPrivate Sub และจบด้วยประโยค End Sub ซึ่งหน้าที่ของผู้พัฒนาโปรแกรมก็คือ จะต้องพิมพ์คําสั่งต่างๆ ลงไปในระหว่าง 2 ประโยคนี้ เพื่อให้แต่ละ Object ทํางานภายใต้ Event ต่างๆ ตามที่ต้องการ

1.7 การ Run โปรแกรม

ในการ Run Project ที่พัฒนาขึ้นด้วย Visual Basic สามารถ Run โดยใช้ Interpreter และการใช้ Compiler กล่าวคือ เราสามารถทดลอง Run สิ่งต่างๆ ที่เราจัดทําขึ้นไปพร้อมๆ กับการแก้ไขโปรแกรม จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ แล้วจึง Compile โปรแกรมให้อยู่ในรูปของ Executed Program เพื่อนําไปใช้งานได้เช่นกัน การ Run Project ที่เราจัดทําขึ้นนั้น ทําได้ หลายวิธี เช่น การกด F5 การคลิกที่ Icon “Run” ใน Toolbar หรือเลือกที่เมนู Run และ Start ตามลําดับ และวิธีการเลิกการ Run Project ทําได้ 2 วิธี คือการคลิกที่ Icon “End” ใน Toolbar และ การเลือกจาก เมนู Run และ End ตามลําดับ

1.8 การบันทึก Project และ Form

ในการบันทึก Project จะต้องบันทึกทั้งส่วนของ Form และ Project โดย Form จะถูกบันทึกลงในไฟล์
นามสกุล FRM ในขณะที่ Project จะถูกบันทึกลงในไฟล์นามสกุล VBP ในการบันทึก Form ให้ทําดังนี้
1. คลิกที่ Icon “Save” ใน Toolbar จะปรากฏจอภาพดังรูปที่ 1.10




2. ใส่ชื่อ ไฟล์ที่จะใช้เก็บ Form ซึ่ง Visual Basic จะใช้ชื่อเริ่มต้นเป็นชื่อเดียวกับ Form เสมอ ดังนั้นจึง
ปรากฏชื่อ Form มาให้ผู้อ่านสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อได้ตามต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Save ก็จะ
บันทึก Form ลงใน Disk
3. จะปรากฏจอภาพสําหรับบันทึก Project ซึ่งก็เช่นเดียวกับ Form จึงปรากฏชื่อ File เป็นชื่อ Project ให้
เปลี่ยนชื่อตามต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม Save ซึ่งในการ Save Project เดิมในครั้งต่อไปจะไม่ต้องกําหนด
ชื่อ Project อีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น