วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 การใช้งาน Toolbox บน Visual Basic 6.0 (จบ)

2.9 DriveListBox, DirListBox และ FileListBox

Control ทั้ง 3 นี้จะเกี่ยวข้องกับ File, Directory และ Drive โดยที่ DriveListBox จะทําหน้าที่เป็น Drop-Down ListBox ที่แสดง Drive ต่างๆ ของเครื่อง DirListBox ใช้แสดง Directory ต่างๆ และ FileListBox ใช้แสดงรายชื่อ File ใน Directory ทีเลือกไว้ใน DirListBox ดังรูป


หมายเหตุ
DrivListBox จะกําหนดชื่อนําหน้าด้วย Dri
DirListBoxจะกําหนดชื่อนําหน้าด้วย Dir
FileListBox จะกําหนดชื่อนําหน้าด้วย File

2.10 Image และ Picture

เป็น Control ที่ใช้อ่านไฟล์รูปภาพมาแสดงบน Form โดยการกําหนดชื่อไฟล์ใน Property “Picture”
สามารถอ่านไฟล์รูปภาพได้ทั้งไฟล์ที่มีนามสกุล BMP, ICO, WMF, GIF และ JPG ซึ่งทั้ง 2 Control มีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
1. Control “Image” ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Control ที่ใช้ในการวาดรูปอื่นๆ ได้
2. Control “Image” ใช้งานในลักษณะของปุ่มที่มีรูปภาพได้ ส่วน Control “PictureBox” ทําไม่ได้
3. Control “Image” จะปรับขนาดของภาพที่อ่านมาให้เหมาะสมกับขนาดของ Object ที่เตรียมไว้โดย
อัตโนมัติ ส่วน Control “PictureBox” จะต้องกําหนดให้ Property “AutoSize” เป็น True จึงจะทําได้
4. Control “Image” สามารถย่อขยายรูปภาพได้ เมื่อกําหนดค่าให้กับ Property “Stretch” เป็น True
ส่วน Control “PictureBox” ทําไม่ได้ การใช้งานโดยทั่วไปส่วนมากนิยมใช้ Control Image สําหรับการแสดงภาพ เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่า


Propertyหน้าที่
Nameสําหรับการกําหนดชื่อของ Object โดยมักจะนําหน้าด้วย Img
Pictureสําหรับกําหนดตําแหน่งปลายทางที่เก็บรูปภาพที่ต้องการ Load ขึ้นมา
Stretchกําหนดให้ภาพที่มาปรากฏมีขนาดเท่า หรือไม่เท่ากับกรอบที่วางไว้ โดยที่
True = กําหนดค่าให้ภาพมีขนาดเท่ากับกรอบที่วางไว้
False = กําหนดค่าให้ภาพเป็นขนาดจริง



Function

การเขียนโปรแกรมที่ต้องการเลือกภาพที่ต้องการมาแสดงโดยไม่ต้องกําหนดค่า Picture ใน Property จะต้องใช้ฟงก์ชั่นที่ทําหน้าที่เป็น Method(Property) ของ Object โดยใช้ Function LoadPicture() มีรูปแบบดังนี้

รูปแบบ

Image.Picture = LoadPicture(Filename)
Ex Image1.Picture = LoadPicture(“C:\Vbprog\pic\boat.bmp”)


ตัวอย่างที่ 2.7 การเลือกและแสดงรูปภาพ


2.11 HscrollBar และ VscrollBar

เป็นแถบ Scroll Bar ที่การเลื่อนแต่ละครั้งจะให้ค่าออกมาเป็นตัวเลข โดยที่ HscrollBar จะเป็นแถบใน
แนวนอน ส่วน VscrollBar จะเป็นแถบในแนวตั้ง ค่าของตัวเลขที่ได้จากการเลื่อนของทั้ง 2 Control จะถูกประมาณออกมาผ่านทาง Property “Value” โดยจะมีค่าอยู่ระหว่างค่าที่กําหนดไว้ใน Property “Min” และ “Max” มี Property ที่สําคัญดังนี้

Propertyหน้าที่
Nameสําหรับการกําหนดชื่อ ถ้าเป็น HscrollBar จะนําหน้าด้วย Hsc และถ้าเป็น
VscrollBar จะนําหน้าด้วย Vsc
Maxกําหนดค่าสูงสุด
Minกําหนดค่าต่ำสุด
Value กําหนดค่าเริ่มต้น และใช้เก็บค่าที่ได้จากการเลื่อน Scroll Bar


2.12 Shape

ใช้วาดรูปภาพทางเรขาคณิต มีจุดประสงค์แบบเดียวกับ Line ซึ่งสามารถกําหนดรูปร่างของ Object นี้ได้ มี Property ที่น่าสนใจดังนี้

0 – Rectangleรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1 – Squareรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2 – Ovalรูปวงรี
3 – Circleรูปวงกลม
4 – Rounded Rectangleรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุมมน
5 – Rounded Squareรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีมุมมน

Propertyหน้าที่
Nameใช้กําหนดชื่อของ Object จะขึ้นต้นด้วย Sha
BorderStyleใช้กําหนดรูปแบบของเส้น เช่น เส้นตรง เส้นปะ เส้นจุดไข่ปลา เป็นต้น
BorderWidthใช้กําหนดความหนาของเส้น


2.13 Timer

เป็น Control ที่จะไม่ปรากฏบนจอภาพเมื่อทําการ Run โดยทําหน้าที่เป็นตัวจับเวลา เพื่อกําหนดการทํางานของโปรแกรมตามช่วงเวลาที่กําหนด จึงใช้ในการเขียนโปรแกรมเพียงอย่างเดียว

Propertyหน้าที่
Nameใช้กําหนดชื่อของ Object จะขึ้นต้นด้วย Tim
Interval ใช้กําหนดเวลาในการปลุกให้ทํางานตามต้องการ มีหน่วยเวลาเป็น Millisecond
(1/1000วินาที) และจะต้องเข้าไปเขียนโปรแกรมใน Timer_Timer() เช่น ถ้า
ต้องการให้ทํางานทุกๆ 5 วินาที ก็ต้องใส่ค่าเป็น 5000 เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 2.8 Timer

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น