5.1 การสร้างเมนู
ก่อนอื่นต้องสร้าง Form ว่างๆ เพื่อใช้สร้างเมนูมาก่อน โดยการ Add New และคลิกที่ Menu Bar
Tools / Menu Editor จะปรากฎ Menu Editor ดังรูปต่อไปนี้
Caption ใช้สําหรับกรอกข้อความที่ต้องการให้ปรากฏใน Menu และถ้าต้องการให้เรียกใช้ Hot Key ได้ก็ใส่สัญลักษณ์ & ไว้ข้างหน้าข้อความเช่น &File เป็นต้น ในขณะที่ Run จะมีเส้นขีดที่ใต้ตัว F และผู้ใช้สามารถกด Alt-F แทนการคลิกที่ปุ่ม File ได้ ส่วน Name เป็นอีกช่องที่จําเป็นต้องใส่เพราะเป็นการกําหนดชื่อที่จะอ้างอิงถึง Object ใน แต่ละช่องทาง (แต่ละเมนูย่อยมีค่าเป็น 1 Object)
ปุ่ม ลูกศร เป็นปุ่มที่ใช้สําหรับ การจัดลําดับของเมนู การเลื่อนเป็นเมนูย่อย ในแต่ละลําดับขั้น ส่วนปุ่ม Next ใช้ในการเลื่อนยังเมนูถัดไป ปุ่ม Insert แทรกชื่อเมนูใหม่ และปุ่ม Delete ใช้สําหรับลบเมนูทิ้ง
Checked เป็นการกําหนดให้มีสัญลักษณ์ Checkbox ที่ข้างหน้าชื่อเมนู ส่วน Enabled และ Visible เป็นส่วนที่กําหนดให้ใช้งานและมองเห็นเมนูหรือไม่ ส่วน Windowslis เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงการมีเมนูย่อยโดยจะมีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมเพื่อให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีเมนูย่อย
ทดลองสร้างเมนูย่อยให้มี 2 เมนูหลักที่ชื่อ File และ Edit โดยที่ ภายใต้ File มีเมนูย่อย Open Save Close และ Exit และ Edit มีเมนูย่อย … ดังภาพที่
จากตัวอย่างของเมนูข้างต้น สามารถกําหนดค่าต่างๆ ใน Menu Editor ได้ดังต่อไปนี้
สําหรับการเรียก Form ย่อย จะสามารถใช้ Property show เช่นถ้าต้องการเรียกฟอร์มชื่อ Test ก็จะใช้
Test.show ใน Even Click ของเมนูนั้นๆ
5.2 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมเป็นสิ่งสําคัญ เพราะการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนต้องรู้จักวิธีตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรมที่มักเรียกว่า “การดีบัก”(Debug) เพื่อทําให้โปรแกรมมีความถูกต้อง มีวิธีที่นิยมใช้ดังต่อไปนี้
5.2.1 การใช้ Immediate Windows
Immediate Windows เป็นหน้าต่างที่ใช้สําหรับตรวจสอบตัวแปรและผลจากคําสั่งที่ผู้เขียนโปรแกรม
ต้องการทดสอบซึ่งสามารถเรียกหน้าต่าง Immediate Windows ขึ้นมาโดยเรียกที่เมนู View / Immediate Windows จะปรากฏ หน้าต่าง Immediate ดังนี้
การใช้งาน Immediate Windows ผู้เขียนโปรแกรมอาจทดลองคําสั่งโดยการพิมพ์ลงบนหน้าต่างแล้วให้
แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยการใช้เครื่องหมาย ? หน้าคําสั่ง ฟงก์ชั่น หรือตัวแปรที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น
อีกวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนโปรแกรมจะสั่งให้พิมพ์ผลลัพธ์จากโปรแกรมที่เขียนอยู่โดยการใช้คําสั่ง Debug.print
(โดยที่ n คือตัวแปรหรือ Object ที่ต้องการให้แสดงข้อมูล) เพื่อนําค่าจากตัวแปรที่ต้องการไปแสดงในหน้าต่าง Immediate ตัวอย่างเช่น
5.2.2 การใช้หน้าต่าง Debug
หน้าต่าง Debug หรือ Debugger เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เขียนโปรแกรมในการ
ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม มีความสามารถในการตามรอยโปรแกรมในลักษณะต่างๆ ได้ ผู้ใช้
สามารถเรียกหน้าต่าง Debug ขึ้นมาโดยเรียกจาก เมนู View / Toolbars / Debug จะปรากฎหน้าต่าง
Debug ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆ ได้แก่ Toggle Breakpoints , Step into , Step Over , Step Out โดยมี
หน้าที่แตกต่างกันดังนี้
ชื่อ | ลักษณะการทํางาน |
Toggle Breakpoints | ใช้สําหรับกําหนดจุดสิ้นสุดที่จะ Run Program เนื่องจากการแก้ไข โปรแกรม ผู้เขียนอาจต้องการทดสอบการทํางานเพียงส่วน โดยต้องการให้ ไปหยุดการทํางานเมื่อถึงบรรทัดที่กําหนด โดยที่คลิกด้านหน้าของบรรทัด คําสั่งที่ Editor จะปรากฎ วงกลมสีแดง หรือจะใช้วิธีคลิกที่ Icon Breakpoint หรือ กด F9 ก็ได้ |
Step into | ใช้สําหรับสั่งให้ Run Program ไปทีละบรรทัดคําสั่ง โดยที่ผู้ใช้สามารถ ตรวจสอบการทํางานของ Logic Program ได้ง่ายและชัดเจน เรียกใช้โดย การกด F8 |
Step Over | การทํางานคล้ายกับ Step into แต่จะแตกต่างกันตรงเมื่อมีการเขียน โปรแกรมให้เรียกใช้ฟงก์ชั่นที่เขียนขึ้นมาเอง โดยที่ Step Over จะข้ามการ แสดงการทํางานในส่วนของ Function นั้น เรียกใช้โดยการกด Shift+F8 |
Step Out | ใช้สําหรับต้องการ Run โปรแกรมต่อจนจบโปรแกรมเรียกใช้โดย การ กด Ctrl+Shift+F8 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น