วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 การกำหนดตัวแปรและประเภทของข้อมูล(Variable and Data Type) (จบ)

ตัวอย่างที่ 3.1 การกําหนดตัวแปรแบบ implicit (ใช้สัญลักษณ์) ใช้งานได้เฉพาะ Private sub นั้นๆ



ตัวอย่างที่ 3.2 การกําหนดตัวแปรแบบ Explicit (มีคําว่า Dim) ใช้งานได้ทุกๆ Private sub (public)


3.5 Operator (เครื่องหมาย)
1) เครื่องหมายการกําหนดค่า (Assignment Operator) ใช้เครื่องหมาย =
A! = 10
Name$ = first & Lastname
Status = (235*3)>(1500/3-100)
name = Text1.text

2) Arithmetic Operation เป็น Operator ที่ใช้ในการคํานวณ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ดังนี้

เครื่องหมายความหมาย
^ยกกําลัง
-ลบ (Operand เดี่ยว)
*, /คูณหรือหาร (10/3 = 3.333333..)
\หารแบบ Integer (10\3 = 3)
Mod Modulo(หารเอาเฉพาะเศษ)
+ , -บวก หรือ ลบ
&การต่อข้อความ (String)

3) Relational Operation เครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ซึ่งจะได้ผลเป็นค่าจริง(True) หรือเท็จ
(False) เท่านั้น มักจะใช้ร่วมกับคําสั่ง if…End if สัญลักษณ์ที่ใช้มีต่อไปนี้

เครื่องหมายความหมาย
=เท่ากับ
<>ไม่เท่ากับ
>มากกว่า
<น้อยกว่า
>=มากกว่าหรือเท่ากับ
<=น้อยกว่าหรือเท่ากับ
Likeเปรียบเทียบ String


หมายเหตุ :
Like จะใช้เปรียบเทียบ String 2 ค่าหากเหมือนกันทุกประการจะกําหนดค่าให้เป็นจริง(True)
เช่น A = “Com” Like “Com” // A จะมีค่าเป็น True
B = “Sit” Like “Sitthai” // B จะมีค่าเป็นเท็จ False เป็นต้น


4) Logical Operation
ใช้สําหรับเชื่อมประโยคเงื่อนไข หลายๆ ประโยคเข้าด้วยกัน ดังตารางต่อไปนี้

เครื่องหมายความหมาย
Not LogicalNegation
And Logicaland
Or Inclusive
Imp Implication
Or
Eqv LogicalEquivalence
Xor ExclusiveXOR


ข้อสังเกต :
Xor (Exclusive Or) จะมีค่าเป็น F เมื่อทั้ง 2 Operand มีค่าเหมือนกัน
Eqv(Logical Equivalence) จะมีค่าเป็น T เมื่อทั้ง 2 Operand มีค่าเหมือนกัน
Imp(Implication) เมื่อ Operand 1 มีค่าเป็น T และ Operand 2 มีค่าเป็น F จะมีค่าเป็น F

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น