วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้ง และ คุณลักษณะทั่วไปของ Visual Basic(3)

8 ส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมของ Visual Basic 6 (IDE)
คำว่า IDE หรือ Integrated Development Environment คือ สภาพแวดล้อมการทำงานใน
การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ Visual Basic หรืออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่เตรียมมาช่วยในการพัฒนา
โปรแกรมด้วย Visual Basic เมื่อเปิดโปรแกรม Visual Basic ขึ้นมาครั้งแรก จะปรากฏหน้าจอของ
IDE ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

1) ทูลบาร์ (Tool Bar)
ทูลบาร์คือแผงควบคุม ที่มีปุ่มต่างๆ ประกอบอยู่ ซึ่งสามรถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและ
รวดเร็ว โดยรายละเอียดของปุ่มต่างๆ ของทูลบาร์มีดังนี้


A. ใช้สำหรับเปิดโปรเจ็คใหม่ขึ้นมา
B. เพิ่มฟอร์ม โมดูล หรือออปเจ็ค ประเภทต่างๆ เขาไปใช้ในโปรเจ็ค หรือโปรแกรมที่เรา
กำลังพัฒนาอยู่
C. เปิด Menu Editor ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเมนูของโปรแกรม
D. เปิดไฟล์โปรเจ็ค
E. บันทึกโปรเจ็ค Save
F. ตัด(cut)
G. ก๊อปปี้ (copy)
H. วาง (paste)
I. ค้นหา (Find)
J. ยกเลิกการกระทำ (undo)
K. เรียกคืนกับสิ่งที่ undo ไป (redo)
L. สั่งให้โปรแกรมทำงาน (Run)
M. ให้โปรกรมหยุดทำงานชั่วคราว (Pause)
N. ให้โปรแกรมหยุดทำงาน
O. เปิดวินโดว์ Properties
P. เปิดวินโดว์ From layout
Q. Object Browser ช่วยในการค้นหารายละเอียดของออปเจ็คต่างๆ
S. Toolbox เป็นแหล่งรวบรวมออปเจ็คต่างๆ
T. เปิดวินโดว์ data view เพื่อดูการติดต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ

2) ทูลบ็อก (Toolbox)
เป็นที่รวมออปเจ็คต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในโปรแกรมซึ่งอาจเรียกว่า Control Object ซึ่งมีดัง
ภาพต่อไปนี้ และนอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มออปเจ็คเข้าไปใน Toolbox ได้อีกมากมาย ซึ่ง
รายละเอียดคร่าวๆ มีดังนี้


A. Pointer ใช้ในการจัดขนาด เคลื่อนย้าย และวางตำแหน่งของออปเจ็คต่างๆ
B. Picture ใช้ควบคุมและแสดงภาพต่างๆ ลงบนฟอร์ม
C. Label ใช้แสดงข้อความต่างๆ ลงบนฟอร์ม
D. Textbox ใช้สำหรับรับข้อความที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา
E. Frame ใช้สำหรับจัดกลุ่มและรวมออปเจ็คต่างๆ เข้าด้วยกัน
F. Command Button เป็นปุ่มคำสั่งเพื่อใช้ในการสั่งงาน
G. Checkbox เป็นปุ่มที่ใช้เลือกว่าต้องการหรือไม่
H. Option Button ใช้เป็นตัวเลือกค่าไดค่าหนึ่งจากหลายๆค่า
I. Combo Box ผู้ใช้สามารถเลือกตัวเลือกได้จากการกดปุ่ม Drop Down เพื่อแสดง
ทางเลือกต่างๆ มีความสามารถเหมือนกับ List Box และ Text Box ผสมกัน
J. List Box ใช้แสดงตัวเลือกต่างๆ ในลักษณะของบรรทัดรายการโดยสามารถเลือก
รายการไดรายการหนึ่งหรือว่าหลายรายการก็ได้
K. Horizontal Scroll Bar เป็นแถบเลื่อนทางแนวนอน
L. Vertical Scroll Bar เป็นแถบเลื่อนทางแนวตั้ง
M. Time ใช้ในการควบคุมเวลา ในโปรแกรมที่มีเวลามาเกี่ยวข้อง
N. Drive List Box ใช้ ในการติดต่อแฟ้มข้อมูลในแบบของ List Box
O. Directory List Box ใช้ในการติดต่อแฟ้มข้อมูลในแบบของ Directoryใช้ในการติดต่อ
แฟ้มข้อมูลในแบบของ
P. File List Box ใช้ในการติดต่อแฟ้มข้อมูลในแบบของ File List Box
Q. Shape ใช้สร้างรูปทรงต่างๆ ลงบนฟอร์ม
R. Line ใช้วาดเส้นต่างๆ ลงบนฟอร์ม
S. Image เป็นคอนโทรล ที่ใช้ควบคุมภาพเหมือนกับ Picture แต่ความสามารถจะน้อยกว่า
T. Data Control ใช้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
U. OLE เป็นคอนโทรลที่นำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีความสามารถ OLE เข้ามาใช้เป็น
ออปเจ็คในโปรเจ็ค

3) วินโดว์ Form


4) วินโดว์ Project Explorer
เป็นตัวแสดงรายละเอียดของโปรเจ็ค ต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา ดังรูป


5) วินโดว์ Properties
จะเป็นตัวแสดงคุณสมบัติทั้งหมด ของออปเจ็คที่กำลังถูกเลือกอยู่ ซึ่งในการแก้ไขหรือตั้ง
ค่าคุณสมบัติ ทำได้โดยตรง ที่คุณสมบัติและค่า ซึ่งเราสามารถเรียกวินโดว์ Properties โดยเรียกได้
จากเมนู View / Properties Windows หรือกด F4 ซึ่งวินโดว์ Properties ดูได้จาก ดังรูป


6) วินโดว์ Form Layout
จะเป็นตัวแสดงตำแหน่งฟอร์มของโปรเจ็คที่เรากำลังสร้างอยู่ ให้ดูบนจอภาพ เพื่อใช้
กำหนดตำแหน่งขณะที่โปรแกรมทำงานจริงๆ ลักษณะของ Form layout Windows ดูได้ดังรูป


7) วินโดว์ Code Editor
เป็นเนื้อที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรม สามารถเรียกได้โดยใช้เมนู View/Code หรือดับเบิล
คลิกที่ออบเจ็คใดๆ บนฟอร์ม ซึ่งลักษณะของ Code Editor Windows ดูได้ดังรูป


7 ชนิดของข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่
1) บิต, ไบต์
บิต หมายถึง ข้อมูลที่เป็นค่าของตัวเลข ‘0’,’1’ ซึ่งเป็นเลขฐานสอง จะเปรียบเสมือนกับ
สวิตช์ที่มีเพียงสองสถานะ คือ เปิด และ ปิด เท่านั้น
ไบต์ หมายถึง ชุเดของตัวเลขฐานสองแปดตัว เปรียบเสมือนกับสวิตช์แปดตัวเรียงกัน แต่
ละชุดใช้แทนอักขระได้หนึ่งตัวอักษร
หน่วยของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ดูได้จากตารางต่อไปนี้


2) ตัวแปรในภาษาคอมพิวเตอร์
ตัวแปร (Variable) หมายถึงชื่อของหน่วยเก็บข้อมูล หรือตำแหน่งของหน่วยความจำของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เก็บค่าต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้ระหว่างประมวลผล
ชนิดของตัวแปรใน Visual Basic มีดังนี้


3) การประกาศตัวแปรใน Visual Basic
การประกาศตัวแปร คือการการที่เราบอกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เตรียมเนื้อที่ใน
หน่วยความจำสำหรับตัวแปรที่เราจะใช้ในการประมวลผลในโปรแกรม โดยการประกาศตัวแปร
นั้นเราเรียกว่า Dim (Dimension) ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
Dim ชื่อตัวแปร [As ชนิดของตัวแปร]
ค่าที่อยู่ภายในเครื่องหมาย [] จะเป็น Optional คือเราจะใส่หรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่ใส่ ตัวแปรที่
เราประกาศขึ้นจะเป็นตัวแปรชนิด Variant
ตัวอย่าง
Dim A As Integer ‘ ประกาศตัวแปรชื่อ A แบบ Integer
Dim B As String ‘ ประกาศตัวแปรชื่อ B แบบ String
Dim C As String * 10 ‘ ประกาศตัวแปรชื่อ C แบบ String มีความยาว 10 ตัวอักษร
ตัวแปรอีกแบบ คือ ตัวแปรแบบ ค่าคงที่ จะใช้ในการเก็บค่าคงที่ที่คาดว่าจะใช้บ่อยใน
โปรแกรม และค่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
Constant ชื่อตัวแปร = ค่าคงที่

4) ขอบเขตของตัวแปร
ชนิดและขอบเขตของตัวแปรมีดังนี้
ตัวแปร Public จะมองเห็นและเรียกใช้ได้ทุกฟอร์มโมดูล หรือทุกโพรซีเยอร์ในโมดูล
หรือฟอร์มที่ประกาศ การประกาศจะใช้คำว่า Public แทนคำว่า Dim ในการประกาศตัวแปร ต่อจาก
บรรทัด Option variable
ตัวแปร Private จะมองเห็นและเรียกใช้ได้ทุกโพรซีเยอร์ในโมดูล หรือฟอร์มที่เรา
ประกาศเท่านั้น การประกาศจะใช้คำว่า Public แทนคำว่า Private ในการประกาศตัวแปรต่อจาก
บรรทัด Option variable
ตัวแปร Local จะมองเห็นและสามารถเรียกใช้ได้เฉพาะโพรซีเยอร์ที่ประกาศเท่านั้น ใน
การประกาศตัวแปรจะประกาศในโพรซีเยอร์ที่ใช้งาน

1 ความคิดเห็น:

  1. ปัจจุบันหลายท่านเปลี่ยนจาก VB ไปพัฒนาเป็น VB.net แล้ว แต่ชนิดของตัวแปรก็ยังไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก แต่การพัฒนาเป็น .net นั้นช่วยให้การเขียนโปรแกรมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

    ตอบลบ