6 ประโยคคำสั่ง (Statement)
Statement หรือประโยคคำสั่ง หมายถึง คำสั่งในโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น เพื่อใช้ควบคุม
การทำงานของโปรแกรม โดยสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ประโยคกำหนดค่า
ประโยคกำหนดค่า (Assignment Statement) คือการเขียนคำสั่งที่ป้อนค่าหรือใส่ค่าให้กับ
ตัวแปรด้วยนิพจน์ต่างๆ ตัวดำเนินการหลักที่ใช้ในประโยคที่ใช้กำหนดค่าของ Visual Basic คือ
เครื่อง หมาย “=”
ตัวอย่างเช่น A = 100
Sum = A + B + C
X = X + 1
‘กำหนดให้ A เท่ากับ 100
‘กำหนดให้ Sum เท่ากับ A + B + C
‘กำหนดให้ X เท่ากับ X + 1
2) ประโยคเงื่อนไข
ประโยคเงื่อนไข (Condition Statement) จะเป็นประโยคคำสั่งในการสร้างเงื่อนไข เพื่อใช้
ในการตัดสินใจตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ คำสั่งประเภทนี้ได้แก่ IF-THEN-ELSE และ SELECTCASE
เป็นต้น
ก) คำสั่ง IF-THEN-ELSE
เป็นคำสั่งที่ใช้เมื่อต้องการให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจ ว่าจะไปทำ งานตรงส่วนไหน ซึ่งมี
รูปแบบดังนี้
IF ( เงื่อนไข ) THEN
……………………..
ELSE
……………………..
END IF
ข) คำสั่ง SELECT-CASE
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเลือกทำ จะมีการทำงานคล้ายกับ IF-THEN-ELSE แต่ Select Case
จะเหมาะสำหรับตรวจสอบค่าตัวแปรเดียว รูปแบบคำสั่ง SELECT-CASE มีรูปแบบดังนี้
SELECT CASE ตัวแปร
Case (ค่าเปรียบเทียบ)
………………………
Case (ค่าเปรียบเทียบ)
………………………
Case (ค่าเปรียบเทียบ)
………………………
END SELECT
3) ประโยควนรอบ
ประโยควนรอบ หรือที่เราเรียกว่าการวนลูป (Iteration Statement) ซึ่งคำสั่งประเภทนี้
ได้แก่ FOR-NEXT และ DO-WHILE เป็นต้น
ก) คำสั่ง FOR-NEXT
รูปแบบคำสั่ง FOR-NEXT
FOR ตัวแปร = ค่าเริ่มต้น TO ค่าสิ้นสุด [ค่าที่เพิ่มขึ้นแต่ละรอบ]
ชุดคำสั่ง
……………….
NEXT
ข) คำสั่ง DO-WHILE-LOOP
รูปแบบคำสั่ง DO-WHILE-LOOP
DO WHILE (เงื่อนไข)
ชุดคำสั่ง
……………….
LOOP
7 ฟังก์ชั่นต่างๆ ใน Visual Basic
ในบทนี้จะเป็นการเรียนรู้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่ทำงานกับตัวแปรแบบ String และตัวเลขที่
Visual Basicได้จัดเตรียมมาให้ใช้มากมาย โดยที่เราไมต้องเสียเวลาไปพัฒนาหรือเขียนฟังก์ชั่นนี้
ขึ้นมาใช้เองฟังก์ชั่นการทำงานเกี่ยวกับตัวเลข (Math Function) และ String ในบทนี้จะเป็นฟังก์ชั่น
ที่เรามักจะใช้บ่อย ๆ ในการเขียนโปรแกรม การทำความรู้จักและใช้งานคำสั่งหรือฟังก์ชั่นเหล่านี้จะ
เป็นพื้นฐานที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นอย่างมาก
1) ฟังก์ชั่นที่ใช้ในการปัดเศษ
ก) ฟังก์ชั่น Round ()
รูปแบบ Round(expression [,numdecimalplaces] )
ใช้ในการปัดเศษ ให้เท่ากับจำนวนทศนิยมตำแหน่งที่ numdecimalplaces โดยถ้าเลขตัว
ท้ายมากกว่าหรือเท่ากับ 5 จะปัดเศษขึ้น ถ้าน้อยกว่า 5 จะปัดเศษลง
ตัวอย่าง
Dim I As Variant, result As Variant
i = 1.5467
result = Round (i, 0) ‘ผลลัพธ์ = 2
result = Round (i, 1) ‘ผลลัพธ์ = 1.5
result = Round (i, 1.55 ‘ผลลัพธ์ = 1.55
result = Round (i, 3 ‘ผลลัพธ์ = 1.547
ข) ฟังก์ชั่น Into (Number) และฟังก์ชั่น Fix (Number)
ทั้งฟังก์ชั่น Into (Number) และฟังก์ชั่น Fix (Number) ใช้ในการหาค่าส่วนที่เป็นจำนวน
เต็มของตัวเลข Number โดยตัดค่าทศนิยมของตัวเลขทิ้งไป ฟังก์ชั่น Into กับ Fix จะทำงานต่างใน
กรณีที่ค่า ตัวเลขเป็นค่าลบ (Negative) กล่าวคือ Into จะได้ค่าจำนวนเต็มตัวแรกที่น้อยกว่าหรือ
เท่ากับ Number แต่ Fix จะได้ค่าจำนวนเต็มตัวแรกที่มากกว่าหรือเท่ากับ Number
ตัวอย่าง
Dim MyNumberMyNumber = Into (99.8 ‘Returns 99.
MyNumber = Fix (99.2) ‘ผลลัพธ์ 99
MyNumber = Into (-99.8) ‘ผลลัพธ์ -100
MyNumber = Fix (-99.8) ‘ผลลัพธ์ -99
MyNumber = Into (-99.2) ‘ผลลัพธ์ -100
MyNumber = Fix (-99.2) ‘ผลลัพธ์ -99
2) ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับค่ายกกำลังและ Exponential
ก) ฟังก์ชั่น Exp (Number)
จะได้ค่า e ยกกำลัง Number โดย e=2.71828
ข) ฟังก์ชั่น Log (Number)
จะได้ค่า In (Number) โดย In คือ Log ฐาน e (2.71828) เช่น Log (10) = 2.30258 เป็นต้น
การเปลี่ยนค่า Log ไปเป็นฐานอื่นสามารถทำได้โดยใช้สูตร เป็นการเปลี่ยนค่าเป็น Log ของ x ใน
ฐาน N LogN (X) = Log(X) / Log (N)
ค) ฟังก์ชั่น Sal (Number)
สำหรับหาค่ารากที่ 2 ของ Number
ตัวอย่าง
Dim MySqr
MySqr = Sql (9) ‘ผลลัพธ์ 3
MySqr = Sql (7) ‘ผลลัพธ์ 2.64575131106459
MySqr = Sql (0) ‘ผลลัพธ์ 0
MySqr = Sql (-5) ‘เกิด error
3) ฟังก์ชั่นในการสุ่มตัวเลข
ก) ฟังก์ชั่น Rnd
จะได้ค่าสุ่มตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึงค่าที่น้อยกว่า1 (0.999...) ที่ขึ้นกับเลขฐานถ้าเป็นจำนวนเต็ม
ก็จะได้ค่าเดิมตลอดจึงต้องใช้คำสั่ง Randomize ก่อนการงานใช้ฟังก์ชัน Rnd เพื่อให้ค่าที่สุ่มได้มี
การเปลี่ยนแปลงฐานของเลขก่อน
ตัวอย่าง
Dim MyValue, i
Randomize ‘สร้างตารางเลขสุ่มใหม่
For i = 1 to 1000
MyValue = Into((6*Rnd) + 1) ‘สุ่มตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 6
Print i
Next i
4) ฟังก์ชั่นในการหาค่าสัมบูรณ์และหาเครื่องหมายของตัวเลข
ก) ฟังก์ชั่น Abs(Number)
หาค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข Numner เช่น Abs(-1) = 1, Abs(2) = 2 เป็นต้น
ข) ฟังก์ชั่น Sgn (Number)
ใช้ในการตรวจสอบหาเครื่องหมายบวกหรือลบของ Number โดย
ถ้า Number มากกว่า 0 ‘จะได้ค่ากลับมาเป็น 1
ถ้าค่า Number = 0 ‘จะได้ค่ากลับมาเป็น 0
ถ้า Number น้อยกว่า 0 ‘จะได้ค่ากลับมาเป็น -1
ตัวอย่าง
Dim MyVar1, MyVar2, MyVar3, Mysign
MyVar1 = 10: MyVar2 = -5.4 :MyVar3 = 0
MySign = Sgn(MyVar1) ‘ผลลัพธ์ 1
MySign = Sgn(MyVar2) ‘ผลลัพธ์ -1
MySign = Sgn(MyVar3) ‘ผลลัพธ์ 0
5) ฟังก์ชั่นในการแปลงเลขฐาน
ก) ฟังก์ชั่น Hex (Number)
ใช้ในการแปลงเลขฐาน 10 เป็นสตริงในรูปแบบของเลขฐาน 16 ค่าที่ส่งกลับมาจาก
ฟังก์ชั่น Hex จะเป็นค่าตัวแปรแบบ String สำหรับค่าคงที่ใน Visual Basic เราสามารถกำหนดค่าตัว
เลขที่เป็นเลขฐาน 16 ได้โดยใช้ตัวอักษร &H นำหน้า
ตัวอย่าง
Dim X As Vaiant
X = &H1A ‘ค่า จะเท่ากับ 1 ฐาน 16 ซึ่งเท่ากับ 26 ในฐาน 10
Dim MyHex
MyHex = Hex(5) ‘ผลลัพธ์ “5”
MyHex = Hex(10) ‘ผลลัพธ์ “A”
MyHex = Hex(459) ‘ผลลัพธ์ “1CB”
ข) ฟังก์ชั่น Oct (Number)
ใช้ในการแปลงเลขฐาน 10 (Decimal) เป็นสตริงของเลขฐาน 8 (Octadecimal) สำหรับ
ค่าคงที่ใน Visual Basic เราสามารถกำหนดค่าตัวเลขที่เป็นเลขฐาน 8 ได้โดยใช้ตัวอักษร &O
นำหน้า
ตัวอย่าง
Dim X As Variant
X = &071 ‘ค่า X จะเท่ากับ 71 ฐาน 8 ซึ่งเท่ากับ 57 ฐาน 10
Dim MyOct
MyOct = Oct(4) ‘ผลลัพธ์ 4
MyOct = Oct(8) ‘ผลลัพธ์ 10
MyOct = Oct(459) ‘ผลลัพธ์ 713
6) ฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติ
ก) ฟังก์ชั่น Sin (Number)
แสดงค่า Sine ของมุมที่กำหนดใน Number (ค่าของมุมจะมีหน่วยเป็น Radian โดย
สามารถแปลงองศาเป็น Radian ได้จากสูตร
Degree = Radian * 180/Pi โดย Pi = 3.141592654)
ข) ฟังก์ชั่น Cos (Number)
แสดงค่า Cos ของมุมที่กำหนดใน Number
ค) ฟังก์ชั่น Tan (Number)
แสดงค่า Tan ของมุมที่กำหนดใน Number
ขอบคุณนะคะ เป็นประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ
ตอบลบ